หลังการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธที่ 2 เราขอย้อนติดตามความเกี่ยวข้องระหว่างพระองค์ท่าน กับสโมสรฟุตบอลเชลซี…
ความสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์และเชลซีอาจไม่ได้อยู่ในสายเลือด แต่ถือเป็นมรดกของสโมสร เริ่มตั้งแต่การเสด็จพระราชดำเนินของเจ้าชายแห่งเวลส์ และครอบครัวของพระองค์ ในช่วงสปริง ปี 1907 ซึ่งทำให้ให้ทีมเปลี่ยนจากชุดแข่งสีน้ำเงินโทนอีตันบลูดั้งเดิม มาใช้เฉดสีที่ดูสะดุดตากว่า นับแต่ฤดูกาลนั้นเป็นต้นมา <br /><br />พระเจ้าจอร์จที่ 5 - มีศักดิ์เป็นพระอัยกาของควีนเอลิซาเบธที่ 2 - ปรากฏตัวในช่วงวันนั้น และมีรายงานว่าพระองค์ทรงให้การสนับสนุนสโมสรฟุตบอลจากลอนดอนที่เปี่ยมไปด้วยความทะเยอทะยาน ในเดือนธันวาคม 1920 โดยในขณะนั้นพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ จากบันทึกของแจ็ค ค็อก อดีตนักเตะเชลซี ผ่านคอลัมน์ที่ชื่อ Globe เผยว่าพระองค์ทรงประทับอยู่ที่สแตนด์หลักของสแตมฟอร์ด บริดจ์ ในเกมที่เสมออาร์เซนอล 1-1
‘พระองค์ทรงประทับอยู่จนจบการแข่งขัน และเสด็จออกจากอัฒจันทร์พร้อมกับแฟนบอลคนอื่น ๆ’ แจ็ค เผย ‘พระองค์ทรงเป็น 1 ในแฟนฟุตบอลกว่า 60,000 คน ที่เอ็นจอยไปกับเกมการแข่งขัน และ 1 ในองครักษ์คนสนิทเผยกับผมว่าพระองค์มักจะตรัสถามถึงผลงานของเชลซี ในช่วงเวลาต่อจากนั้นอยู่เสมอว่าเป็นอย่างไรบ้าง’ พระเจ้าจอร์จที่ 6 พระราชโอรส ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระราชินีนาถ เอลิซาเบธที่ 2 ก็ได้รับการพูดถึงว่าเป็นแฟนบอลเชลซีเช่นกัน
ครั้งหนึ่ง หนังสือพิมพ์แมนเชสเตอร์ เคยแซวว่าการที่สมาชิกในราชวงศ์เสด็จไปยังเดอะ บริดจ์บ่อยครั้ง ก็ควรจะขึ้นป้ายอยู่เหนือประตูว่า ‘By Royal Appointment’ หรือ ก่อตั้งโดยราชวงศ์ ขึ้นไปเสียเลย แต่ในความจริงแล้ว ที่สโมสรมีความสัมพันธ์อันดีกับสีโทนแดงเข้มคล้ายสีองครักษ์ในยุคแรก ๆ เพราะมาจากกลุ่มบุคคลผู้รับเงินบำนาญจากโรงพยาบาลหลวง ในพื้นที่ใกล้เคียง (โรงพยาบาลแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นจากทหารผ่านศึก โดยกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 2) และได้สิทธิ์รับตั๋วชมการแข่งขันในบ้านนานเกินศตวรรษ
กับความเกี่ยวข้องของพระราชินีผู้ล่วงลับและสโมสร ครั้งหนึ่ง ในขณะที่พระองค์ยังทรงดำรงพระยศเป็นเจ้าหญิงเอลิซาเบธ พระองค์เคยเสด็จเยือนเวมบลีย์พร้อมราชวงศ์ เพื่อทอดพระเนตรการแข่งขันเอฟเอ คัพ ในศึกฟุตบอล ลีก (เซาท์) คัพ นัดชิงชนะเลิศ ในวันที่ 7 เมษายน 1945 (ภาพด้านบน) นี่ถือเป็นรายการแข่งขันฟุตบอลรายการแรกที่พระองค์ได้มีส่วนร่วม และหนึ่งในบุคคลที่คอยให้การซัพพอร์ตพระองค์ตลอดทั้งวัน คือ ส.ส. เอ วี อเล็กซานเดอร์ รองประธานสโมรเชลซี ผู้ได้รับการยกย่องเป็นลอร์ด คนแรก ของกองทัพเรือ
ในฐานะเป็นประมุขแห่งรัฐ สมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธ ที่ 2 ไม่ได้มามอบถ้วยแชมป์เอฟเอ คัพ นัดชิงชนะเลิศให้กับเชลซี ด้วยตัวพระองค์เอง แต่ได้ให้เจ้าหญิงมาร์กาเร็ต พระขนิษฐาปฏิบัติหน้าที่แทนในเกมนัดตัดสินแชมป์ เมื่อปี 1970 ทว่าในนัดรีเพลย์ ที่สิงห์บลูส์คว้าชัยชนะ พวกเราได้รับมอบแชมป์จากดร.แอนดรูว์ สตีเฟ่น ประธานเอฟเอ ขณะที่ช่วงหลังมานี้ เจ้าชายวิลเลียม พระราชนัดดา ทรงเป็นผู้มอบถ้วยแชมป์ให้ทีมที่ชนะ
อย่างไรก็แล้วแต่ สมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธ ที่ 2 เคยพบเจอกับนักเตะเชลซี รวมถึงสตาฟฟ์มาแล้ว ในระหว่างการพระราชทานรางวัลเกียรติยศแห่งรัฐ ล่าสุดคือในปี 2016 ที่เอ็มม่า เฮย์ส กุนซือเชลซีทีมหญิง กับบรรดาศักดิ์ชั้น MBE ซึ่งทำให้เธอถึงกับ “พูดไม่ออก” ที่ได้รับเกียรตินี้ เช่นเดียวกับจานฟรังโก้ โซล่า ที่ได้รับการจารึกเป็นบรรดาศักดิ์ชั้น OBE เมื่อปี 2004
เมื่อพระองค์ได้รับการแนะนำให้รู้จักกับอดีตสตาร์สิงห์บลูส์ ภายในแผนกตอนรับของสถานทูตในกรุงโรม พระองค์ตรัสว่า ‘อ่า นักฟุตบอลผู้ยิ่งใหญ่ชาวอิตาเลี่ยน’ ซึ่งในสัปดาห์นี้ โซล่า ยอมรับว่า เขารู้สึกประทับใจมากที่ได้รับคำชื่นชม แต่ไม่นานหลังจากนั้นจึงทราบว่า นั่นคือวิธีที่พระองค์ปฏิบัติกับทุกคน ‘พระองค์ทรงเป็นสตรีที่วิจิตรงดงามนัก และมักจะได้รับข้อมูลข่าวสารอยู่เสมอ’ โซล่า กล่าว
ในม้วนหนังสือประกอบการอ้างอิงของเขา ระบุว่า ‘นักเตะต่างชาติที่ยืนยงและโด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์ของสโมสรฟุตบอลเชลซี ทูตที่ยอดเยี่ยมและเป็นแบบอย่างในอุดมคติสำหรับแฟน ๆ รุ่นเยาว์’ คำพูดเหล่านี้หลาย ๆ คำ ถือว่าเข้ากับการครองราชย์อันยาวนานของสมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธ
ย้อนกลับไปที่เวมบลีย์ในปี 1945 ฝูงชนจำนวน 90,000 คนร้องเพลง "God save the King" อย่างเร้าใจ ซึ่งคงจะเกิดเหตุการณ์แบบนั้นอีกครั้งในการแข่งขันฟุตบอลเอฟเอ คัพ รอบชิงชนะเลิศในอนาคต ที่เชลซีผ่านเข้าไปถึง